อัพเดตล่าสุด

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
  4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
  • ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Sofeware) บุคลากร (Peopleware) ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) และกระบวนการทำงาน (Procedure)

  • คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
  • ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้างสารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
    • ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
    • ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    • ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
    • เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
    • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
    ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย

ภาษา PHP

PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language  คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น
ถ้าใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่า เราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบันที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่ง ใดตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ  อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้ เช่น <!--#exec cgi="date.pl"--> ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ web server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนิ้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ค่าเวลาเป็นเอาพุท (output) และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง
อาจจะกล่าวได้ว่า PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิมๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูลหรือ database เป็นต้น
PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับ เป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995 เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และเวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 ในปัจจุบัน
PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

DHCP

DHCP=Dynamic Host Configuration Protocol
เป็นชื่อเรียกของโปรโตคอลชนิดหนึ่ง
(โปรโตคอล คือ ข้อกำหนด กฏเกณฑ์ ถูกใช้เพื่อการสื่อสาร)
ที่ใช้สำหรับการแจกจ่ายข้อมูลที่สำคัญทางเครือข่าย
โดยที่เครื่องลูกข่ายจะทำการร้องขอ
และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น DHCP Server
ก็จะตอบรับพร้อมกับข้อมูลที่เครื่องลูกจำเป็นต้องใช้
สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย
ลองนึกถึง นักเรียน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook
แล้วต้องนำ Notebook นี้ไปโรงเรียน ไปหอพัก กลับมาบ้าน
โดยแต่ละที่ก็มีอินเตอร์เน็ตใช้ และมีสายแลนให้เสียบ
และแน่นอน แต่ละที่ก็จะมีโครงสร้างเน็ตเวิร์คไม่เหมือนกัน
อย่างเช่น ที่โรงเรียนก็ต้องเซ็ต IP ให้เป็น 192.168.10.55
กลับมาบ้านก็ต้องเปลี่ยนเป็นอีกแบบ ไปหอพัก ก็ต้องเซ็ตอีกแบบ
ไม่งั้นก็ไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ คงลำบากน่าดู
ไหนจะเรื่องเซ็ตผิด IP ไปชนกับเครื่องอื่นๆในเครือข่าย
ทำให้เล่นเน็ตได้บ้างไม่ได้บ้างทั้งคู่
DHCP จึงมีบทบาทสำคัญ ที่คุณเพียงแค่เซ็ตให้เครื่องคอมพิวเตอร์
รับค่าเน็ตเวิร์คทั้งหมดจาก DHCP ดังนั้นคุณไม่ต้องทำอะไรเลย
เมื่อคุณพา Notebook ไปโรงเรียน ก็แค่เสียบสายแลน ก็เล่นเน็ตได้เลย
กลับมาบ้าน ก็เสียบสายแลนแล้วเล่นเน็ตได้เลย สบายๆ
หลักการทำงานของ DHCP ก็คือ
อันดับแรก การ์ดแลนคุณต้องทำงานได้อย่างปกติ
และคุณได้ทำการเซ็ตค่าให้การ์ดแลน รับค่าเน็ตเวิร์คจาก DHCP
เมื่อเสียบสายแลนเข้าไป
การ์ดแลนก็จะทำการร้องเรียกหา DHCP Server ในเครือข่าย
ถ้าพูดศัพท์ทางเทคนิค ก็คือ broadcast packet ข้อมูลออกไปในระบบ
เมื่อ DHCP Server ที่ทำงานอยู่ก็จะตอบรับ พร้อมส่งข้อมูลมาให้
เมื่อการ์ดแลนได้รับข้อมูลแล้วก็จะเซ็ตค่าเน็ตเวิร์ค
ทำให้สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายได้
เมื่อเราทำความเข้าใจกับ DHCP กันในระดับหนึ่งแล้ว
ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของการติดตั้ง และใช้งาน
และเหมือนเดิม เราก็จะใช้ระบบปฏิบัติการ ubuntu 9.10 server
ส่วนโปรแกรมที่จะทำหน้าที่ DHCP Server นั้นก็จะใช้โปรแกรม dhcp3-server
ซึ่งติดตั้งและเซ็ตค่าไม่ยาก มีความสามารถเพียงพอ
การติดตั้งโปรแกรม dhcp3-server ก็จะใช้คำสั่งว่า
apt-get install dhcp3-server
ปล. การติดตั้งช่วงท้ายๆจะมีคำว่า fail ปรากฏขึ้นมา
ไม่ต้องตกใจ เพราะระบบพยายามจะสั่งให้โปรแกรมทำงานทันทีหลังติดตั้ง
แต่เรายังไม่ได้เซ็ตค่าให้กับโปรแกรม โปรแกรมจึงทำงานไม่ได้
พอเราเซ็ตค่าเสร็จแล้ว สั่งให้ทำงานอีกครั้งก็ปกติเอง
สำหรับการเซ็ตค่านั้น ก็จะมีอยู่ 2 ไฟล์ด้วยกันคือ
/etc/default/dhcp3-server
/etc/dhcp3/dhcpd.conf
โดยที่ไฟล์แรกนั้น มีการเซ็ตแค่บรรทัดเดียว คือ
INTERFACES=""
เป็นการระบุการ์ดแลนที่ต้องการทำงานกับ dhcp3-server
ถ้าหากต้องการให้ทำงานกับการ์ดแลนหลายใบ ก็แค่เว้นวรรคมัน
เช่น INTERFACES="eth0 eth1" เป็นต้น
ส่วนอีกไฟล์ที่เราต้องทำการแก้ไข คือ
/etc/dhcp3/dhcpd.conf ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบ dhcp เลย
ซึ่งจะขออธิบายไปทีละขั้นดังนี้
สำหรับการทำหน้าที่เป็น dhcp server นั้นหมายความว่า
คุณจะต้องรู้เกี่ยวกับระบบ IP/Subnet/Gateway/DNS

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Visual Basic (VB)

โปรแกรม Visual Basic (VB) เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่กำลังเป็นที่ นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน โปรแกรม Visual Basic เป็นโปรแกรมที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการเขียนโปรแกรมใหม่ โดยมีชุดคำสั่งมาสนับสนุนการทำงาน มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า คอนโทรล(Controls) ไว้สำหรับช่วยในการออกแบบโปรแกรม โดยเน้นการออกแบบหน้าจอแบบกราฟฟิก หรือที่เรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำให้การจัดรูปแบบหน้าจอเป็นไปได้ง่าย และในการเขียนโปรแกรมนั้นจะเขียนแบบ Event - Driven Programming คือ โปรแกรมจะทำงานก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ (Event) เกิดขึ้น ตัวอย่างของเหตุการณ์ได้แก่ ผู้ใช้เลื่อนเมาส์ ผู้ใช้กดปุ่มบนคีย์บอร์ด ผู้ใช้กดปุ่มเมาส์ เป็นต้
เครื่องมือ หรือ คอนโทรล ต่าง ๆ ที่ Visual Basic ได้เตรียมไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น Form TextBox Label ฯลฯ ถือว่าเป็นวัตถุ (Object ในที่นี้ขอใช้คำว่า ออบเจ็กต์) นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือใด ๆ ใน Visual Basic จะเป็นออบเจ็กต์ทั้งสิ้น สามารถที่จะควบคุมการทำงาน แก้ไขคุณสมบัติของออบเจ็กต์นั้นได้โดยตรง ในทุกๆ ออบเจ็กต์จะมีคุณสมบัติ (properties) และเมธอด (Methods) ประจำตัว ซึ่งในแต่ละออบเจ็กต์ อาจจะมีคุณสมบัติและเมธอดที่เหมือน หรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของออบเจ็ก
ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic การเขียนโค้ดจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า โพรซีเดอร์ (procedure) แต่ละโพรซีเดอร์จะประกอบไปด้วย ชุดคำสั่งที่พิมพ์เข้าไปแล้ว ทำให้คอนโทรลหรือออบเจ็กต์นั้น ๆ ตอบสนองการกระทำของผู้ใช้ ซึ่งเรียกว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming-OOP) แต่ตัวภาษา Visual Basic ยังไม่ถือว่าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ OOP อย่างแท้จริง เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ Visual Basic ไม่สามารถทำได้

คำสั่งในการเลือกเส้นทางการทำงา
-  if …else…end if  (แบบมีเงื่อนไขเดียวและมีหลายเงื่อนไข)
-  Select Case ตัวแปร
          a. เปรียบเทียบทีละค่า โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้
             b. เปรียบเทียบโดยระบุเป็นปลายเปิดด้านใดด้านหนึ่ง
             c. เปรียบเทียบเป็นช่วง
             d. เปรียบเทียบสองค่า
             e. เปรียบเทียบได้มากกว่าสองค่าแต่ไม่เป็นช่วง
คำสั่งที่ใช้ในการทำงานซ้ำ
For ... Next                 ใช้ในการทำงานซ้ำเป็นจำนวนครั้งที่แน่นอน
-  Loop For                    เพิ่มค่าทีละหนึ่งหรือเพิ่มค่ามากกว่าหนึ่ง
-  Loop Do…While         ทำงานอย่างน้อยหนึ่งรอบก่อนถึงจะตรวจสอบเงื่อนไข
-  Loop Do…Until           ตรวจสอบเงื่อนไขก่อน





ที่มา:http://www.lks.ac.th/kuanjit/vb01.htm
http://www.mahamodo.com/Help/VB_NET_2003/VB_NET_2003_Lesson7_Code1.htm

~ Wellcome ~

 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้

ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม